- หากคุณถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัส แสดงว่าคุณได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ในขณะที่พวกเขาติดเชื้อ
- ผู้สัมผัสโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ควรใช้ความระมัดระวังและติดตามอาการเป็นเวลา 21 วันหลังจากการสัมผัสครั้งล่าสุด
- คุณอาจได้รับการเสนอวัคซีนหลังจากการสัมผัสโรคเพื่อลดความเสี่ยงของโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
On this page
โรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) (เดิมรู้จักในชื่อโรคฝีดาษลิง (monkeypox)) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสผิวหนังต่อผิวหนังกับผื่น แผลพุพอง และแผล หรือการสัมผัสกับของเหลวในร่างกายจากผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
อาการปกติจะเริ่มตั้งแต่ 3 ถึง 21 วันหลังจากสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ครบถ้วนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นผู้สัมผัส
คุณอาจได้รับแจ้งจากบุคคลที่คุณรู้จักหรือหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ว่าคุณได้สัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
คุณอาจถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัสหาก:
- คุณมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
- คุณได้มีการสัมผัสทางกายภาพกับคนที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
- คุณอาศัยอยู่กับคนที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
- คุณอาจเคยสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อน เช่น เสื้อผ้าหรือผ้าปูเตียง
จะต้องทำอะไร หากคุณถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัส
หากคุณได้รับการระบุว่าเป็นผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงสูง นั่นหมายความว่าคุณได้มีการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อโรคเอ็มพ็อกซ์ขณะที่พวกเขาสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้มาแล้ว ซึ่งทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
หน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) จะแนะนําผู้เสี่ยงสัมผัสเกี่ยวกับความจําเป็นในการติดตามอาการเป็นเวลา 21 วันหลังการสัมผัส และข้อควรระวังที่ต้องปฏิบัติตาม ในบางกรณี หลังจากคุณมีการสัมผัสแล้ว คุณอาจได้รับการเสนอให้ฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
นอกจากนั้น หลังการสัมผัสเป็นเวลา 21 วัน คุณควรทำสิ่งต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะติดโรครุนแรง เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สถานที่รับเลี้ยงเด็ก สถานที่รับดูแลผู้สูงอายุ และสถานพยาบาล เว้นแต่จะเข้าไปทํางานหรือไปพบแพทย์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่มีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทํางานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง
- ห้ามบริจาคโลหิต เซลล์ เนื้อเยื่อ น้ำนมแม่ น้ำอสุจิหรืออวัยวะใด ๆ
คุณอาจได้รับคําแนะนําให้งดเว้นกิจกรรมทางเพศเป็นเวลา 21 วันหลังจากการสัมผัสหากคุณมีความเสี่ยงสูง (เช่น จากการมีเพศสัมพันธ์) ต่อการติดเชื้อโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ในสถานการณ์ที่หายากที่คุณเป็นผู้สัมผัสกับบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์อื่นที่ไม่ได้แพร่ระบาดในออสเตรเลีย คุณอาจได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดมากขึ้นโดยหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) และต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มเติม
หากคุณมีอาการ
หากคุณมีอาการของโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) คุณควรไปพบแพทย์และรับการทดสอบโดยไม่ชักช้า การทดสอบโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) สามารถทําได้ในบริการปฐมภูมิ (คลินิก GP) หรือบริการสุขภาพทางเพศ สวมหน้ากากอนามัยและโทรไปที่คลินิกล่วงหน้าเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณจะเข้ารับการทดสอบ หากคุณมีผื่น รอยโรค แผล หรือสะเก็ด ให้แน่ใจว่าได้ปิดแผลดังกล่าวไว้แล้ว
ติดต่อหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ของคุณเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณมีอาการ
ระหว่างรอผลโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ของคุณ:
- ห้ามสัมผัสใกล้ชิดหรือมีสัมพันธ์แนบสนิทกับผู้อื่น รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสแบบผิวหนังต่อผิวหนัง
- ปิดแผลเมื่ออยู่ใกล้คนอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ใช้ผ้าปิดแผลหรือผ้าพันแผลกันน้ำและสวมเสื้อผ้า
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ผู้อื่นหรือสัตว์เลี้ยงหากคุณมีอาการเจ็บคอ มีแผลในช่องปากหรือกำลังไอ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจํา และปิดปากเมื่อไอหรือจาม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือขยี้ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีแผลพุพองที่ตา หรือใกล้ดวงตาหรือมือ
จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน
- ค้นหาหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ของฉัน
- ในกรณีฉุกเฉิน ให้โทรเรียกรถพยาบาล (ทริปเปิลซีโร่) เสมอ โทร 000
- แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านคุณที่สุด
- จีพี (แพทย์) ของคุณ
- พยาบาลตามสาย (Nurse-on-Call) โทร. 1300 60 60 24 (24 ชั่วโมง 7 วัน) – สําหรับคําแนะนําด้านสุขภาพที่เป็นความลับจากพยาบาลวิชาชีพ
- Melbourne Sexual Health Centre โทร. (03) 9341 6200 หรือ 1800 032 017 หรือ TTY (สําหรับผู้พิการทางการได้ยิน) โทร. (03) 9347 8619
- Thorne Harbour Health (เดิมชื่อ Victorian AIDS Council) โทร. (03) 9865 6700 หรือ 1800 134 840
- มีบริการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนผ่านแพทย์จีพีของคุณหรือบริการด้านสุขภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถพบได้ที่ กระทรวงสาธารณสุข สุขภาพจิต และศูนย์กลางความเป็นอยู่ที่ดี
This page has been produced in consultation with and approved by: