- หากผลตรวจโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ของคุณเป็นบวก เจ้าหน้าที่จากหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ของคุณจะติดต่อกลับเพื่อให้คําแนะนํา
- คุณอาจถูกขอให้เปลี่ยนกิจกรรมประจําวันของคุณบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ไปยังผู้อื่น
- สําหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) จะสามารถจัดการอาการได้ด้วยการดื่มน้ำบ่อย ๆ และรับประทานยาแก้ปวดที่ซื้อโดยไม่มีใบสั่งยาจา
On this page
โรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) (เดิมรู้จักในชื่อโรคฝีดาษลิง (monkeypox)) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสผิวหนังต่อผิวหนังกับผื่น แผลพุพอง และแผล หรือการสัมผัสกับของเหลวในร่างกายจากผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) โดยปกติจะเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงและคนส่วนใหญ่จะฟื้นตัวภายในสองสามสัปดาห์โดยไม่มีการรักษาเฉพาะ
อาการโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
- ผื่นหรือแผล: สามารถปรากฏได้ทุกที่บนร่างกาย แต่มักปรากฏรอบอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก มือ หรือใบหน้า ซึ่งอาจดูเหมือนสิว แผล หรือฝี จํานวนรอยโรคแตกต่างกันไป ผื่นอาจเปลี่ยนแปลงและผ่านขั้นตอนที่แตกต่างกัน เช่น อีสุกอีใส ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดที่หลุดออกในที่สุด
- อาการอื่นๆ: มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดทวารหนักหรือลำไส้ตรง หรือเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ
- ปกติอาการจะเริ่มตั้งแต่ 3 ถึง 21 วันหลังจากสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
- ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ครบถ้วนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ข้อควรระวัง
ระหว่างรอผล:
- ห้ามสัมผัสใกล้ชิดหรือมีสัมพันธ์แนบสนิทกับผู้อื่น รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสแบบผิวหนังต่อผิวหนัง
- ปิดแผลเมื่ออยู่ใกล้คนอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ใช้ผ้าปิดแผลหรือผ้าพันแผลกันน้ำและสวมเสื้อผ้า
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ผู้อื่นหรือสัตว์เลี้ยงหากคุณมีอาการเจ็บคอ มีแผลในช่องปากหรือกำลังไอ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจํา และปิดปากเมื่อไอหรือจาม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือขยี้ตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีแผลพุพองที่ตา หรือใกล้ดวงตาหรือมือ
หากคุณป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox)
หากผลการตรวจของคุณเป็นบวก เจ้าหน้าที่จากหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ของคุณจะติดต่อเพื่อให้คําแนะนําและขอข้อมูลเพื่อทําความเข้าใจว่ามีคนอื่นตกอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่ พวกเขาจะช่วยระบุคนอื่น ๆ ที่คุณอาจเคยสัมผัสในขณะที่คุณติดเชื้อ เพื่อแจ้งเตือนพวกเขาถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ พวกเขาจะแจ้งคนที่คุณสัมผัสโดยไม่เปิดเผยตัวตนของคุณ ในบางกรณี ผู้สัมผัสใกล้ชิดสามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาได้รับโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ได้
คุณอาจถูกขอให้เปลี่ยนกิจกรรมประจําวันของคุณบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) ไปยังผู้อื่น ในบางครั้งหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) อาจขอให้คุณอยู่บ้านและแยกตัวจากผู้อื่นหากมีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่กระจายโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) เช่น หากคุณไม่สามารถปิดแผลหรือสวมหน้ากากอนามัยได้ หรือหากคุณเป็นไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade Ib ที่แพร่กระจายในบางส่วนของแอฟริกา
สําหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) จะสามารถจัดการอาการได้ด้วยการดื่มน้ำบ่อย ๆ และรับประทานยาแก้ปวดที่ซื้อโดยไม่มีใบสั่งยาจากพทย์ สําหรับกรณีที่รุนแรงกว่านั้นแพทย์ของคุณอาจแนะนําการรักษาอื่น ๆ
ปกป้องผู้อื่น
โปรดปฏิบัติต่อไปตามคําแนะนําเดียวกับตอนที่คุณได้รับการทดสอบ และ:
- ห้ามสัมผัสใกล้ชิดหรือมีสัมพันธ์แนบสนิทกับผู้อื่น รวมถึงกิจกรรมทางเพศทั้งหมด
- อย่าใช้สิ่งของหรือภาชนะร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า เครื่องนอน ผ้าขนหนู เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร หรือถ้วยชาม และซักผ้าเองหากทําได้
- ทํางานจากที่บ้านถ้าเป็นไปได้ เว้นแต่หน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ของคุณจะแจ้งว่าคุณสามารถเข้าที่ทํางานได้
- จํากัดการสัมผัสใกล้ชิดกับสมาชิกในครัวเรือน เช่น นอนในห้องแยกต่างหากและใช้ห้องน้ำแยกต่างหาก หากเป็นไปได้
- ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นที่ส่วนกลาง (รวมถึงห้องน้ำ) เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสิ่งของต่าง ๆ ทันทีหลังใช้งาน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สตรีมีครรภ์ หรือเด็กเล็ก
- ห้ามเข้าไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น บริการดูแลเด็ก การดูแลผู้สูงอายุ หรือสถานพยาบาล ที่อาจมีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง รวมถึงการทํางาน โดยไม่ได้ปรึกษากับหน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) ก่อน (ยกเว้นแต่จะไปพบแพทย์)
- ห้ามสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ (โดยเฉพาะสุนัขและสัตว์ฟันแทะ) เนื่องจากมีความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจากคนสู่สัตว์
- ห้ามบริจาคเนื้อเยื่อของมนุษย์ รวมทั้งเลือด เซลล์ เนื้อเยื่อ น้ำนมแม่ น้ำอสุจิ หรืออวัยวะ
- บอกคู่นอนล่าสุดของคุณว่าพวกเขาอาจสัมผัสเชื้อโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) (หน่วยสาธารณสุขท้องถิ่น (LPHU) สามารถช่วยบอกได้โดยไม่มีการเปิดเผยตัวตนหากต้องการ))
ระยะเวลาการติดเชื้อ
ผู้ที่เป็นโรคเอ็มพ็อกซ์ (mpox) อาจติดเชื้อได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนเริ่มมีอาการจนกว่าอาการทั้งหมดจะหายไป
แพทย์ของคุณจะบอกคุณเมื่อคุณไม่ติดเชื้ออีกต่อไป
คุณติดเชื้อได้จนกว่า:
- รอยโรคทั้งหมดเป็นสะเก็ดและ
- สะเก็ดหลุดออกและผิวหนังใหม่ก่อตัวขึ้นด้านล่าง และ
- อาการปวดลำไส้ตรง (ปวดข้างในหรือรอบทวารหนัก) หายไปอย่างสมบูรณ์
การฟื้นตัว
หลังจากได้รับอนุญาตจากแพทย์แล้ว คุณสามารถกลับไปทํากิจกรรมตามปกติได้ แต่คุณควร:
- ใช้ถุงยางอนามัยสําหรับกิจกรรมทางเพศเป็นเวลา 12 สัปดาห์หลังจากที่อาการหายไป
- ไม่บริจาคเลือด เซลล์ เนื้อเยื่อมนุษย์ น้ำนมแม่ น้ำอสุจิ หรืออวัยวะเป็นเวลา 12 สัปดาห์
- ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อในบ้านของคุณอย่างทั่วถึง นี่เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งหากคุณมีสะเก็ดที่อาจหลุดร่วงในบ้าน
จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน
- โทรหารถพยาบาลเสมอในกรณีฉุกเฉิน: โทรศัพท์ 000 (Triple Zero)
- แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ
- จีพี (แพทย์) ของคุณ
- พยาบาลตามสาย (Nurse-on-Call) โทร. 1300 60 60 24 (24 ชั่วโมง 7 วัน) – สําหรับคําแนะนําด้านสุขภาพที่เป็นความลับจากพยาบาลวิชาชีพ
- Melbourne Sexual Health Centre โทร. (03) 9341 6200 หรือ 1800 032 017 หรือ TTY (สําหรับผู้พิการทางการได้ยิน) โทร. (03) 9347 8619
- Thorne Harbour Health (เดิมชื่อ Victorian AIDS Council) โทร. (03) 9865 6700 หรือ 1800 134 840
- มีบริการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนผ่านแพทย์จีพีของคุณหรือบริการด้านสุขภาพ สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู ศูนย์สุขภาพจิตและศูนย์กลางความเป็นอยู่ที่ดี (Mental Health and Wellbeing Hubs)
สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู โรคเอ็มพ็อกซ์ (Mpox)
This page has been produced in consultation with and approved by: